วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta )

เป็นโปรตีสต์ที่มีช่วงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์และช่วงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพืช ได้แก่ ราเมือก (Slime mold) เป็นต้น มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. มีเซลล์เป็นแบบยูคาริโอต ไม่มีผนังเซลล์ไม่มีคลอโรฟิลล์ประกอบด้วยกลุ่มของ โปรโตปลาสซึมที่แผ่กระจายมีลักษณะเป็นเมือก
2. การสืบพันธุ์มีวงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์สลับกับวงชีวิตคล้ายพืช คือ ในภาวะปกติของชีวิต มีลักษณะเป็นกลุ่มของโปรโตปลาสซึม แผ่กระจายคล้ายแผ่นวุ้น เซลล์แต่ละเซลล์ไม่มีผนังกั้น จึงทำให้นิวเคลียสกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ มองดูคล้ายร่างแหเรียกว่า พลาสโมเดียม ( Plasmodium ) สามารถเคลื่อนที่และกินอาหารได้แบบอะมีบา ( Amoeboid movement ) พอถึงระยะที่มีการสืบพันธุ์ ราเมือกจะสร้างอับสปอร์ ( Sporangium ) ซึ่งภายในมีสปอร์ที่มีผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสเช่นเดียวกับพืช
3. ราเมือกดำรงชีวิตแบบภาวะมีการย่อยสลาย ( saprophytism ) แต่มีบางชนิด เช่น พลาสโมดิโอฟอรา ( plasmodiophora ) ทำให้เกิดโรครากโป่งในกะหล่ำปลีและผักอื่นๆ วงชีพของราเมือก ในระยะที่เรามักเห็นราเมือกได้ชัด คือ ภาวะปกติของราเมือกจะมีลักษณะคล้ายแผ่นวุ้นขนาดใหญ่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก รวมกันโดยไม่มีผนังกั้นเซลล์ จึงเห็นเป็นแผ่นมีนิวเคลียสจำนวนมาก มองดูคล้ายกับมีร่างแหอยู่ในแผ่นวุ้น ราเมือกอาจมีสีส้ม เหลือง ขาว หรือ ใส แผ่นวุ้นนี้เคลื่อนที่ได้คล้ายอะมีบาเรียกระยะนี้ว่า พลาสโมเดียม ต่อมาถึงระยะที่มีการสืบพันธุ์ ราเมือกจะหยุดเคลื่อนที่และเริ่มสร้างอับสปอร์ ระยะนี้เรียก ฟรุตติ้ง บอดี ( Fruiting body ) เมื่อสปอร์แก่ อับสปอร์แตกออก สปอร์ตกลงงอกเป็นเซลล์เล็กๆ เคลื่อนที่ได้ต่อมาเกิดการรวมตัวของเซลล์เล็กๆนี้เข้าด้วยกัน เป็นไซโกต ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นแผ่นวุ้นเคลื่อนที่หากินต่อไป ดังนั้น วงชีวิตของราเมือกจึงเป็นแบบสลับ ( alternation of generation ) ความสำคัญของราเมือก
1. ดำรงชีพภาวะย่อยสลาย ช่วยให้เกิดการสลายตัวของซากและสิ่งปฏิกูลต่างๆ
2. บางชนิดเป็นปรสิต เช่น พลาสโมดิโอฟอรา ( Plasmodiophora ) ทำให้เกิดโรครากโป่งในกะหล่ำปลีและผักอื่นๆ

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกำเนิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400 ล้านปี มีหลักฐานหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Charophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยการสร้างคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมขึ้นมา เช่น มีการสร้างคิวติน (cutin) ขึ้นมาปกคลุมผิวของลำต้นและใบเรียกว่า คิวทิเคิล ( cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเกิด สโทมาตา (stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำและแลกเปลี่ยนก๊าซ เป็นต้น ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช พืชมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์ที่มารวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างเซลล์ของพืชมีผนังเซลล์ที่มีสารประกอบ เซลลูโลส (cellulose) เป็นองค์ประกอบที่พบเป็นส่วนใหญ่ พืชทุกชนิดที่คุณสมบัติที่สามารถสร้างอาหารได้เองจากระบวนการสังเคราะห์ด้วยเสง โดยบทบาทของรงควัตถุคลอโรฟิลล์ (chlorophyll a & b) ที่อยู่ในคลอโรพลาสต์เป็นสำคัญ รงควัตถุหลักที่พบได้ในเซลล์พืชจะเหมือนกับพบในเซลล์ของสาหร่ายสีเขียว ได้แก่ คลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้พืชยังสะสมอาหารในรูปของแป้ง (starch)

วงชีวิต (life cycle) ของพืชเป็นวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of Generation) คือ ประกอบด้วยช่วงชีวิตที่เป็นสปอโรไฟต์ (sporophyte generation) ทำหน้าที่สร้างสปอร์ (spore) สลับกับช่วงชีวิตที่เป็นแกมีโทไฟต์ (gametophyte generation) ทำหน้าที่สร้างแกมีต ( gamete) ได้แก่ เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรือสเปิร์ม (sperm) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือไข่ (egg) ซึ่งจะมารวมกันเพื่อให้ได้เป็นเซลล์ใหม่คือ ไซโกต (zygote) อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์โดยมีเซลล์โดยมีเซลล์ที่เป็นหมัน (sterile cell) ห่อหุ้มอยู่รอบนอก การเจริญของพืชจากไซโกตไปเป็นสปอโรไฟต์จะต้องผ่านจะต้องผ่านระยะที่เป็นเอ็มบริโอ (embryo) ก่อน คุณสมบัติทั้ง 2 ประการ ดังกล่าวนี้จะไม่พบในพวกสาหร่าย (algae)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น