วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553



สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ


การสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ในพื้นที่ที่กระทบต่อระบบนิเวศสามารถจำแนกได้ประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1). การลดพื้นที่ ( reduction)
2). การแบ่งแยกพื้นที่ ( fragmentation)
3) การแทนที่ ( substitution)
4) การทำให้สูญพันธุ์ ( extinction)
5) การทำให้ปนเปื้อน ( contamination


การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต


การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต (classification of organisms) การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ไม่ใช่เพียงเป็นการบอกชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่จะต้องสามารถบ่งบอกถึงลำดับของสิ่งมีชีวิตและตำแหน่งในการเกิดขึ้นของชนิดในขบวนการวิวัฒนาการได้ด้วย การศึกษาชนิด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ในเชิงวิวัฒนาการระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ เรียกว่า อนุกรมวิธาน taxonomy หรืออาจเรียกว่า systematics แต่นักชีววิทยาบางส่วนอาจจะแยกทั้งสองศาสตร์นี้ออกจากกัน โดยถือว่า taxonomy เป็นการศึกษาเพื่อให้คำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ (description of species) ส่วน systematics เป็นการศึกษาเพื่อจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมาเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสามารถใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของชาติวงศ์วานและนำมาจัดเป็นประวัติชาติพันธุ์ (phylogeny) ของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ ได้
การจัดทำ phylogeny ของสิ่งมีชีวิตสามารถทำได้ในทุกระดับของสิ่งมีชีวิต เช่น การทำ phylogeny เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีช ี วิตที่อยู่ใน
อาณาจักรพืช (อธิบายเพิ่มเติม) อาณาจักรสัตว์ (อธิบายเพิ่มเติม) และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระดับอื่นๆ เช่นในระดับสกุล (genus
การจัดลำดับทางอนุกรมวิธาน (taxonomic hierarchy) Karl von Linne' (Carolus Linnaeus) (1707-1778) เป็นผู้จัดทำ binomial system โดยกำหนดให้การเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตจะต้องมีประกอบด้วย 2 ส่วน (binomial nomenclature) คือ ชื่อ genus และชื่อ species ซึ่งสิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดที่มีลักษณะร่วมกันจะรวมกันอยู่ในลำดับที่ใหญ่ขึ้น กลุ่มของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันจะเรียกว่าอยู่ใน taxon เดียวกัน (อธิบายเพิ่มเติม) ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนั้นจะมีพื้นฐานทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการกัน (evolutionary relationship) ลักษณะที่ใช้ในการจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตอาจจะเป็นลักษณะใดก็ได้ที่สามารถวัดได้ เช่น ลักษณะทางกายวิภาค สัณฐานวิทยา ความแตกต่างของการสร้างเอ็นไซม์ ลำดับของเบสของ DNA หรือ RNA
ค . ศ . 1969 Robert H. Whittaker ได้เสนอให้มีการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นอาณาจักรต่างๆ ( kingdom) โดยอาศัยลักษณะและการจัดเรียงตัวของเซลล์และความแตกต่างของลักษณะการกินอาหาร โดยสามารถเรียงลำดับหมวดหมู่จากสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันมากกว่าไปหาสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันน้อยกว่าแบ่งเป็น ชนิด ( species) สกุล ( genus) วงศ์ ( family) อันดับ ( order) ชั้น ( class) ไฟลัม (phylum) อาณาจักร (kingdom) และจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร
(อธิบายเพิ่มเติม) คือ
1.อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera) คือพวกสิ่งมีชีวิตที่เป็นโปรคาริโอท (prokaryote) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ได้แก่ แบคทีเรียและไซยาโนแบคทีเรีย
2.อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (unicellular organisms) ที่เป็นพวกยูคาริโอท (eukaryote) อาจจะอาศัยอยู่เดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม เช่น อมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา
3.อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organisms) ที่เป็นยูคาริโอท กินอาหารโดยการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ เห็ด และรา
4.อาณาจักรพืช ( Kingdom Plantae) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกพืชซึ่งเป็นพวกยูคาริโอทที่มีหลายเซลล์ มีผนังเซลล์ (cell wall) ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง มีความสามารถในการสังเคราะห์แสง
5.อาณาจักรสัตว์ ( Kingdom Animalia) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ที่เป็นพวกยูคาริโอทที่มีหลายเซลล์ ไม่มีผนังเซลล์ กินอาหารโดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้อย่างน้อยในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต

ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาของวิทยาการทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล มีการนำวิทยาการใหม่ๆ มาศึกษาด้านการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต (molecular systematics) ซึ่งจากการเปรียบเทียบลำดับเบส (base sequence) ใน ribosomal RNA ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก สามารถสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดมาจากบรรพบุรุษเดียวกันและเมื่อมีวิวัฒนาการแยกออกเป็น 3 สาย (lineage) ตั้งแต่เมื่อ 1.5 พันล้านปี แต่ละสายวิวัฒนาการ เรียกว่า โดเมน (domain) ซึ่งเป็น taxon ที่ใหญ่กว่า kingdom โดยแบ่งออกเป็น 3 โดเมนและ 6 อาณาจักร

1. โดเมนแบคทีเรีย (domain Bacteria)
2. โดเมนอาร์เคีย (domain Archaea)
3. โดเมนยูคาร์ยา (domain Eukarya

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น