วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ

1. Fragmentation เกิดจากเส้นใยหักเป็นส่วน ๆแต่ละส่วนเรียก oidia สามารถเจริญเป็นเส้นใยใหม่ได้
2. Budding การแตกหน่อ เป็นการที่เซลล์แบ่งออกเป็นหน่อขนาดเล็กและนิวเคลียสของเซลล์แม่แบ่งออกเป็นสองนิวเคลียส นิวเคลียสอันหนึ่งจะเคลื่อนย้ายไปเป็นนิวเคลียสของหน่อ เมื่อหน่อเจริญเต็มที่จะคอดเว้าขาดจากกัน หน่อที่หลุดออกมาจะเจริญต่อไปได้ เรียกหน่อที่ได้นี้ว่า Blastosporeพบการสืบพันธุ์แบบนี้ในยีสต์ทั่วไป
3. Fission การแบ่งตัวออกเป็น 2 ส่วน แต่ละเซลล์จะคอดเว้าตรงกลางและหลุดออกจากกันเป็น 2 เซลล์พบในยีสต์บางชนิดเท่านั้น
4. การสร้างสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศที่พบมากที่สุด สปอร์แต่ละชนิดจะมีชื่อและวิธีสร้างที่แตกต่างกันไป เช่น - condiospore หรือ conidia เป็นสปอร์ที่ไม่มีสิ่งหุ้ม เกิดที่ปลายเส้นใยที่ทำหน้าที่ช ูสปอร์ (conidiophore) ที่ปลายของเส้นใยจะมีเซลล์ที่เรียกว่า sterigma ทำหน้าที่สร้าง conidiaเช่น Aspergillus sp. และ Penicillium sp. - sporangiospore เป็นสปอร์ที่เกิดจากปลายเส้นใยพองออกเป็นกระเปาะ แล้วต่อมามีผนังกั้นเกิดขึ้นภายใน กระเปาะจะมีผนังหนาและเจริญเป็นอับสปอร์ (sporangium) นิวเคลียสภายในอับสปอร์จะมีการแบ่งตัวหลาย ๆ ครั้งโดยมีส่วนของโปรโตพลาสซึมและผนังหนามาหุ้มกลายเป็นสปอร์ที่เรียกว่า sporangiospore จำนวนมากมาย
5. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการผสมมกันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์และมีการรวมตัวของนิวเคลียส ซึ่งรวมแล้วเป็น diploid (2n) และมีการแบ่งตัวในขั้นตอนสุดท้ายแบบ meiosis เพื่อลดจำนวนโครโมโซมลงเป็น haploid (n) ตามเดิม กรรมวิธีในการรวมของนิวเคลียสมี 3 ระยะ ดังนี้
1. plasmogamy เป็นระยะที่ไซโตพลาสซึมของทั้งสองเซลล์มารวมกันทำให้นิวเคลียสในแต่ละเซลล์มาอยู่รวมกันด้วย นิวเคลียสในระยะนี้มีโครโมโซมเป็น n
2. karyogamy เป็นระยะที่นิวเคลียสทั้งสองมารวมกัน ในฟังไจชั้นต่ำจะเกิดการรวมตัวของนิวเคลียสอย่างรวดเร็วในทันทีที่มีนิวเคลียสทั้งสองทั้งสองอันอยู่ในเซลล์เดียวกัน ส่วนในฟังไจชั้นสูงจะเกิดการรวมตัวของนิวเคลียสช้ามาก ทำให้เซลล์ระยะนี้มีสองนิวเคลียส เรียกว่า dikaryon
3. haploidization หรือไมโอซิส เป็นระยะที่นิวเคลียสซึ่งมีโครโมโซมเป็น 2n จะแบ่งตัวแบบไมโอซิส เพื่อลดจำนวนโครโมโซมเป็น n การสืบพันธุ์แบบมีเพศในฟังไจแต่ละชนิดจะมีโครงสร้างที่เรียกว่า gametangium ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียที่เรียกว่า gamete เข้าผสมกัน นอกจากนี้ยังพบว่าฟังไจที่มี gametangium สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียอยู่ในไมซิเลียมเดียวกันและสามารถผสมพันธุ์กันได้เรียกว่า monoecious แต่ฟังไจที่มี gametangium สร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างไมซีเลียมกัน แต่ละไมซีเลียมเรียกว่า dioecious ในการสืบพันธุ์แบบมีเพศของฟังไจต่าง ๆ นี้ จะมีการสร้างสปอร์เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน สปอร์ที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศมีขนาดเล็กและจำนวนน้อยกว่า เช่น ascospore basidiospore zygospore และ oospore สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 4 ไฟลัม คือ

1. ไฟลัมไซโกไมโคตา ( Phylum Zygomycota)
2. ไฟลัมแอสโคไมโคตา ( Phylum Ascomycota)
3. ไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา ( Phylum Basidiomycota)
4. ไฟลัมดิวเทดโรไมโคตา ( Phylum Deuteromycota)

วงชีวิตแบบสลับ

พืชส่วนใหญ่จะมีสปอโรไฟต์เด่น คือมีขนาดที่มองเห็นได้ชัดเจนทั่วไป ในขณะที่แกมีโทไฟต์มีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในพืชบางกลุ่ม แกมีโทไฟต์ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ที่เป็นโมโนพลอยด์ (n) จำนวนมากทำหน้าที่สร้างแกมีต สปอโรไฟต์ของพืชประกอบขึ้นด้วยเซลล์ที่เป็นดิพลอยด์ (2n) ทำหน้าที่สร้างสปอร์จากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสของสปอร์มาเทอร์เซลล์ (spore mother cell) ที่อยู่ภายในอับสปอร์ (sporangium) สปอร์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่เป็นเฮพลอยด์ (n) จะแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นแกมีโทไฟต์ (n) ที่ทำหน้าที่สร้างแกมีตคือ สเปิร์ม และไข่ การปฏิสนธิ (fertilization) คือ การรวมตัวกันของสเปิร์ม (n) และไข่ (n) จะทำให้ได้เซลล์ใหม่ที่เป็นดิพลอยด์ (2n) คือ ไซโกตเกิดขึ้นมา และต่อจากนั้นไซโกตจะแบ่งเซลล์ได้เป็นเอ็มบริโอ ก่อนที่จะเจริญต่อไปเป็นสปอร์โรไฟต์ ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ไซโกตคือ เซลล์เริ่มต้นของช่วงสปอโรไฟต์ และสปอร์คือเซลล์เริ่มต้นของช่วงแกมีโทไฟต์ ในพืชกลุ่มที่ไม่สร้างเมล็ดส่วนใหญ่จะมีการสร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว (homospore) ซึ่ง สปอร์ดังกล่าวจะแบ่งตัวและเจริญต่อไปเป็นแกมีโทไฟต์ที่ทำหน้าที่สร้างทั้งสเปิร์มและไข่บนต้นเดียวกัน แต่สำหรับพืชที่มีการสร้างเมล็ดแล้วทุกชนิด จะสร้างสปอร์เป็น 2 ชนิด (heterospore) ได้แก่ ไมโครสปอร์ (microspore) และ เมกะสปอร์ (megaspore) ไมโครสปอร์จะแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็น ไมโครแกมีโทไฟต์ (microgametophyte) หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ทำหน้าที่สร้างสเปิร์ม และเมกะสปอร์ จะแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเมกะแกมีโทไฟต์ (megagametophyte) หรือแกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte) ทำหน้าที่สร้างไข่ ต่อไป สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 9 ดิวิชัน คือ
1. ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
2. ดิวิชันไซโลไฟตา (Division Psilophyta)
3. ดิวิชันไลโคไฟตา(Division Lycophyta)
4. ดิวิชันสฟีโนไฟตา (Division Sphenophyta)
5. ดิวิชันเทอโรไฟตา (Division Pterophyta)
6. ดิวิชันโคนิเฟอโรไฟตา (Division Coniferophyta)
7. ดิวิชันไซแคโดไฟตา (Division Cycadophyta)
8. ดิวิชันกิงโกไฟตา (Division Ginkophyta)
9. ดิวิชันอแนโทไฟตา (Division Anthophyta)

อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)

สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรฟังไจ ประกอบด้วย รา เห็ด และยีสต์ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ

1. เซลล์เป็นแบบ Eucaryotic cell มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ ดำรงชีวิตเป็นผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เน่าเปื่อย
3. ผนังเซลล์เป็นสารไคตินกับเซลลูโลส
4. มีทั้งเซลล์เดียวและเป็นเส้นใยเล็ก เรียกว่าไฮฟา (Hypha) รวมกลุ่ม เรียกว่าขยุ้มรา (mycelium) ลักษณะของเส้นใยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
4.1 เส้นใยมีผนังกั้น (Septate hypha)
4.2 เส้นใยที่ไม่มีผนังกั้น (Nonseptate hypha or coencytic hypha)
ส่วนยีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว แต่อาจมีการต่อกันเป็นสาย เรียกว่า Pseudomycelium เส้นใยของฟังไจอาจเปลี่ยนแปลงแปลงรูปร่างเพื่อทำหน้าที่พิเศษ ได้แก่ Haustorium เป็นเส้นใยที่ยื่นเข้าเซลล์โฮสต์ เพื่อดูดอาหารจากโฮสต์ พบในราที่เป็นปรสิต Rhizoid มีลักษณะคล้ายรากพืชยื่นออกจากไมซีเลียม เพื่อยึดให้ติดกับผิวอาหารและช่วยดูดซึมอาหารด้วย เช่นราขนมปัง

ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophyta )

เป็นโปรตีสต์ที่มีช่วงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์และช่วงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายพืช ได้แก่ ราเมือก (Slime mold) เป็นต้น มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. มีเซลล์เป็นแบบยูคาริโอต ไม่มีผนังเซลล์ไม่มีคลอโรฟิลล์ประกอบด้วยกลุ่มของ โปรโตปลาสซึมที่แผ่กระจายมีลักษณะเป็นเมือก
2. การสืบพันธุ์มีวงชีวิตที่มีลักษณะคล้ายสัตว์สลับกับวงชีวิตคล้ายพืช คือ ในภาวะปกติของชีวิต มีลักษณะเป็นกลุ่มของโปรโตปลาสซึม แผ่กระจายคล้ายแผ่นวุ้น เซลล์แต่ละเซลล์ไม่มีผนังกั้น จึงทำให้นิวเคลียสกระจายอยู่ทั่วไปในเซลล์ มองดูคล้ายร่างแหเรียกว่า พลาสโมเดียม ( Plasmodium ) สามารถเคลื่อนที่และกินอาหารได้แบบอะมีบา ( Amoeboid movement ) พอถึงระยะที่มีการสืบพันธุ์ ราเมือกจะสร้างอับสปอร์ ( Sporangium ) ซึ่งภายในมีสปอร์ที่มีผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสเช่นเดียวกับพืช
3. ราเมือกดำรงชีวิตแบบภาวะมีการย่อยสลาย ( saprophytism ) แต่มีบางชนิด เช่น พลาสโมดิโอฟอรา ( plasmodiophora ) ทำให้เกิดโรครากโป่งในกะหล่ำปลีและผักอื่นๆ วงชีพของราเมือก ในระยะที่เรามักเห็นราเมือกได้ชัด คือ ภาวะปกติของราเมือกจะมีลักษณะคล้ายแผ่นวุ้นขนาดใหญ่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก รวมกันโดยไม่มีผนังกั้นเซลล์ จึงเห็นเป็นแผ่นมีนิวเคลียสจำนวนมาก มองดูคล้ายกับมีร่างแหอยู่ในแผ่นวุ้น ราเมือกอาจมีสีส้ม เหลือง ขาว หรือ ใส แผ่นวุ้นนี้เคลื่อนที่ได้คล้ายอะมีบาเรียกระยะนี้ว่า พลาสโมเดียม ต่อมาถึงระยะที่มีการสืบพันธุ์ ราเมือกจะหยุดเคลื่อนที่และเริ่มสร้างอับสปอร์ ระยะนี้เรียก ฟรุตติ้ง บอดี ( Fruiting body ) เมื่อสปอร์แก่ อับสปอร์แตกออก สปอร์ตกลงงอกเป็นเซลล์เล็กๆ เคลื่อนที่ได้ต่อมาเกิดการรวมตัวของเซลล์เล็กๆนี้เข้าด้วยกัน เป็นไซโกต ซึ่งจะเจริญเติบโตเป็นแผ่นวุ้นเคลื่อนที่หากินต่อไป ดังนั้น วงชีวิตของราเมือกจึงเป็นแบบสลับ ( alternation of generation ) ความสำคัญของราเมือก
1. ดำรงชีพภาวะย่อยสลาย ช่วยให้เกิดการสลายตัวของซากและสิ่งปฏิกูลต่างๆ
2. บางชนิดเป็นปรสิต เช่น พลาสโมดิโอฟอรา ( Plasmodiophora ) ทำให้เกิดโรครากโป่งในกะหล่ำปลีและผักอื่นๆ

อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกำเนิดขึ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 400 ล้านปี มีหลักฐานหลายอย่างที่ทำให้เชื่อว่าพืชมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว กลุ่ม Charophytes โดยมีการปรับตัวจากสภาพที่เคยอยู่ในน้ำขึ้นมาอยู่บนบก ด้วยการสร้างคุณสมบัติต่าง ๆ ที่เหมาะสมขึ้นมา เช่น มีการสร้างคิวติน (cutin) ขึ้นมาปกคลุมผิวของลำต้นและใบเรียกว่า คิวทิเคิล ( cuticle) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ และการเกิด สโทมาตา (stomata) เพื่อทำหน้าที่ระบายน้ำและแลกเปลี่ยนก๊าซ เป็นต้น ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรพืช พืชมีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์ที่มารวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เฉพาะอย่างเซลล์ของพืชมีผนังเซลล์ที่มีสารประกอบ เซลลูโลส (cellulose) เป็นองค์ประกอบที่พบเป็นส่วนใหญ่ พืชทุกชนิดที่คุณสมบัติที่สามารถสร้างอาหารได้เองจากระบวนการสังเคราะห์ด้วยเสง โดยบทบาทของรงควัตถุคลอโรฟิลล์ (chlorophyll a & b) ที่อยู่ในคลอโรพลาสต์เป็นสำคัญ รงควัตถุหลักที่พบได้ในเซลล์พืชจะเหมือนกับพบในเซลล์ของสาหร่ายสีเขียว ได้แก่ คลอโรฟิลล์ เอ คลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้พืชยังสะสมอาหารในรูปของแป้ง (starch)

วงชีวิต (life cycle) ของพืชเป็นวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of Generation) คือ ประกอบด้วยช่วงชีวิตที่เป็นสปอโรไฟต์ (sporophyte generation) ทำหน้าที่สร้างสปอร์ (spore) สลับกับช่วงชีวิตที่เป็นแกมีโทไฟต์ (gametophyte generation) ทำหน้าที่สร้างแกมีต ( gamete) ได้แก่ เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรือสเปิร์ม (sperm) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือไข่ (egg) ซึ่งจะมารวมกันเพื่อให้ได้เป็นเซลล์ใหม่คือ ไซโกต (zygote) อวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชประกอบขึ้นด้วยหลายเซลล์โดยมีเซลล์โดยมีเซลล์ที่เป็นหมัน (sterile cell) ห่อหุ้มอยู่รอบนอก การเจริญของพืชจากไซโกตไปเป็นสปอโรไฟต์จะต้องผ่านจะต้องผ่านระยะที่เป็นเอ็มบริโอ (embryo) ก่อน คุณสมบัติทั้ง 2 ประการ ดังกล่าวนี้จะไม่พบในพวกสาหร่าย (algae)

ไฟลัมโรโดไฟตา ( Phylum Rhodophyta )

ไฟลัมโรโดไฟตา ( Phylum Rhodophyta ) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. สาหร่ายในไฟลัมนี้เรียกว่า สาหร่ายสีแดง (red algae) มีอยู่ประมาณ 3,900 สปีซีส์ รงควัตถุภายในพลาสติดที่มีปริมาณมากนั้นมีสีแดง คือ คลอโรฟิลล์ ดี และไฟโคอิริทริท (Phycoerythrin) บางครั้งสาหร่ายสีแดงอาจปรากฏเป็นสีน้ำเงินเพราะมีรงควัตถุพวกไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) รวมอยู่ในพลาสติดด้วย อย่างไรก็ตามสาหร่ายสีแดงก็มี คลอโรฟิลด์ เอ ซึ่งเป็นรงควัตถุหลักในการสังเคราะห์แสง และที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือสาหร่ายแดงมีรงควัตถุแบคทิริโอคลอโรฟิลล์ เอ เหมือนดังที่พบในแบคทีเรียที่สังเคราะห์แสงด้วย 2. ส่วนประกอบของเซลล์ 2.1 ผนังเซลล์ ประกอบด้วยผนังเซลล์ชั้นใน เป็นพวกสารเซลลูโลส และผนังเซลล์ชั้นนอกเป็นสารเมือกพวกซัลเฟตเตต แกแลกแตน (Sulfated galactan) ได้แก่ วุ้น (Agar) พอร์ไฟแรน (Porphyran) เฟอร์เซลเลอแรน (Furcelleran) และคาร์ราจีแนน (Carrageenan) 2.2 คลอโรพลาสต์มี 2 แบบ คือบางพวกมีลักษณะเป็นแฉกรูปดาว และมีไพรีนอยด์ตรงกลาง บางพวกมีลักษณะกลมแบน 2.3 อาหารสะสมเป็นแป้งมีชื่อเฉพาะว่า ฟลอริเดียนสตาซ (Floridean starch) อยู่ในไซโทพลาสซึม นอกจากแป้งแล้วยังสะสมไว้ในรูปของน้ำตาล ฟลอริโดไซด์ (Floridoside) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนน้ำตาลซูโครสในสาหร่ายสีเขียวและพืชชั้นสูง 2.4 สาหร่ายสีแดงเป็นสาหร่ายพวกเดียวที่ทุกระยะไม่มีแฟลกเจลลัมในการเคลื่อนที่ 2.5 ภายในเซลล์มีทั้งชนิดที่มีนิวเคลียสเดียว และหลายนิวเคลียส 2.6 ส่วนใหญ่อยู่ในทะเลมีบางชนิดเท่านั้นที่อยู่ในน้ำจืด 2.7 ตัวอย่างของสาหร่ายในไฟลัมนี้ ได้แก่ - พอร์ไฟรา (Porphyra) เมื่อตากแห้งแล้วใช้ใส่แกงจืดที่เรียกกันว่า จีฉ่าย กราซิลาเรีย (Gracilaria) นำมาสกัดสารคาร์แรกจิแนน (carrageenan) ใช้ในการทำวุ้น (agar) ซึ่งมีความสำคัญในการทำอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ ทำเครื่องสำอาง ทำยาขัดรองเท้า ครีมโกนหนวด เคลือบเส้นใย ใช้ทำแคปซูลยา ทำยา และใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เห็ดรา และราเมือก - กราซิลาเรีย (Gracilaria) นำสารสกัดสารคาร์แรกจิแนน (Carrageenan) ใช้ในการทำวุ้น (agar) ซึ่งมีความสำคัญในการทำอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ ทำเครื่องสำอาง ทำยาขัดรองเท้า ครีมโกนหนวด เคลือบเส้นใย ใช้ทำแคปซูลยา ทำยา และใช้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ


ไฟลัมไฟโรไฟตา( Phylum Pyrrophyta )
สมาชิกในไฟลัมนี้นิยมเรียกว่า ไดโนแพลเจลเลต (Dinoflagellates) เพราะมีแฟลกเจลลา 2 เส้น ยาวไม่เท่ากันเส้นหนึ่งอยู่ในร่องตามขวางของเซลล์ อีกเส้นหนึ่งอยู่ในร่องตามยาวของเซลล์ บางชนิด แฟลกเจลลัมอยู่ด้านหน้าทั้ง 2 เส้น แต่อย่างไรก็ตามสมาชิกที่มีหลายเซลล์อยู่เป็นกลุ่มและเป็นสายไม่เคลื่อนที่ก็มีเหมือนกัน และมีมากกว่า 1,000 ชนิด ที่สีปรากฏค่อนไปทางสีแดงเปลวไฟ ดังนั้นบางท่านจึงเรียกว่า สาหร่ายสีเปลวไฟ (Fire algae) ลักษณะสำคัญ 1. รงควัตถุภายในเซลล์มีคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี แคโรทีน แซนโธฟิลล์ หลายชนิด ที่สำคัญคือ เพอริดินัม (Peridinum) และไดโนแซนธิน (Dinoxanthin) 2. อาหารสะสม คือ แป้ง (Starch) ซึ่งสะสมไว้ในหรือนอกคลอโรพลาสต์ นอกจากนั้นอาจมีหยดน้ำมัน 3. บางชนิดไม่มีผนังเซลล์ห่อหุ้ม เซลล์จะเปล่าเปลือย เช่น ยิมโนดิเนียม (Gymnodinium) 4. พบมากในทะเล บางพวกเรืองแสงได้ในที่มืด (Bioluminescence) ที่เราเรียกว่า พรายน้ำ บางชนิดพบในน้ำจืดและน้ำกร่อย 5. การสืบพันธุ์โดยมากเป็นแบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งเซลล์และมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศบ้าง ตัวอย่างและความสำคัญของสาหร่ายสีเปลวไฟ 1. สมาชิกของไฟลัมไพโรไฟตา ได้แก่ คริพโตโมแนส (Cryptomonas) นอคติลูคา (Noctiluca) เชอราเธียม (Ceratium) และเพอริดิเนียม (Peridinium) เป็นต้น 2. ไดโนแฟลเจลเลต เป็นแหล่งอาหารตามธรรมชาติของสัตว์น้ำเล็ก ๆ ในทะเล แต่มีบางชนิดที่เป็นพิษ เช่น ในจีนัส Gonyaulax sp. และ Gymnodinium sp. เมื่อปรากฏมาก ๆ ในน้ำทะเลหรือเวลามีมาก ๆ (Bloom) จะทำให้ปลาและสัตว์น้ำตาย บางครั้งทำให้น้ำมีสีเหลือง แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และในที่สุดกลายเป็นสีแดงเพราะการเปลี่ยนแปลงสีภายในเซลล์ เช่น กรณีที่เกิดกระแสน้ำสีแดง (red tides) สัตว์น้ำจืดเป็นจำนวนมากในทะเลแถบชายฝั่งฟลอริดา สหรัฐอเมริกา หรือกรณีที่เกิดในทะเลชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา

ไฟลัมพีโอไฟตา (Phylum Phaeophyta)

ไฟลัมพีโอไฟตา (Phylum Phaeophyta) มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. สาหร่ายในไฟลัมพีโอไฟตา เรียกโดยทั่วไปว่าสาหร่ายสีน้ำตาล (Brown algae) ทั้งนี้เพราะมีรงควัตถุที่ทำให้เกิดสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทีน (Fucoxanthin) อยู่มากกว่าคลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี สาหร่ายสีน้ำตาลมีมากในทะเลตามแถบชายฝั่งที่มีอากาศเย็น มีเพียง 35 จีนัสที่พบในน้ำจืด สาหร่ายสีน้ำตาลมักเรียกชื่อทั่วไปว่า sea weed เพราะเป็นวัชพืชทะเล
2. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเซลลูโลสและกรดอัลจินิก (alginic acid) ซึ่งสามารถสกัดสารอัลจิน (algin) มาใช้ประโยชน์ได้
3. รูปร่างและขนาดแตกต่างกันไป มีตั้งแต่ขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จนถึงขนาดใหญ่มองเห็นด้วยตาเปล่า บางชนิดมีรูปร่างเป็นสายยาวแตกกิ่งก้าน เช่น Ectocarpus บางชนิดมีรูปร่างเป็นแผ่นแผ่แบนหรือคล้ายใบไม้โบกไหวอยู่ในน้ำ เช่น Laminaria บางชนิดคล้ายต้นปาล์มขนาดเล็กเรียกว่า Sea palm บางชนิดคล้ายต้นไม้เล็ก ๆ เช่น Sargassum หรือสาหร่ายนุ่น หรือรูปร่างคล้ายพัด เช่น Padina 4. สาหร่ายสีน้ำตาลมีหลายเซลล์ พวกที่มีขนาดใหญ่มากเรียกว่า เคลป์ (Kelp) ซึ่งอาจมีความยาว 60-70 เมตร เช่น Macrocystis , Nereocystis พวกที่มีขนาดใหญ่มักมีลักษณะเหมือนพืชชั้นสูงประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 4.1 โฮลด์ฟาสต์ (Haldfast) คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นราก สำหรับยึดเกาะแต่ไม่ได้ดูดแร่ธาตุเหมือนพืชชั้นสูง โฮลด์ฟาสต์ของพวกนี้สามารถแตกแขนงได้มาก และยึดเกาะได้แข็งแรง
4.2 สไตป์ (Stipe) หรือคอลลอยด์ (Colloid) คือส่วนที่อยู่ถัดจากรากขึ้นมาทำหน้าที่คล้ายลำต้น
4.3 เบลด (Blade) หรือลามินา (Lamina) หรือฟิลลอยด์ (Phylloid) คือส่วนที่ทำหน้าที่เป็นใบ บางชนิดมีถุงลม (air bladder หรือ Pneumatocyst) อยู่ที่โคนใบเพื่อช่วยพยุงให้ลอยตัวอยู่ได้ในน้ำ จากลักษณะดังกล่าวจึงถือกันว่าสาหร่ายสีน้ำตาลมีวิวัฒนาการสูงสุดในบรรดาสาหร่ายด้วยกัน (ยกเว้นสาหร่ายไฟ)
5. ส่วนประกอบของผนังเซลล์ เซลล์ของสาหร่ายสีน้ำตาลประกอบด้วย
5.1 ผนังเซลล์ มี 2 ชั้น ชั้นในเป็นพวกเซลลูโลส ชั้นนอกเป็นสารเมือก กรดอัลจินิกซึ่งจะอยู่ที่ผนังเซลล์และช่องว่างระหว่างเซลล์ โดยมีประมาณถึง 24% ของน้ำหนักแห้ง กรดอัลจินิกนี้เมื่อสกัดออกมาจะอยู่ในรูปของเกลืออัลจิเนต สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีคุณสมบัติเป็นตัวทำให้เกิดอิมัลชัน ( Emulsifying agent) และเป็นตัวคงรูป (Stabillzing agent)
5.2 คลอโรพลาสต์ มีเพียง 1 อัน หรือมีจำนวนมากในแต่ละเซลล์ขึ้นอยู่กับชนิด คลอโรพลาสต์ จะมีลักษณะกลมแบน (Platelike) หรือเป็นแฉกรูปดาว ไพรีนอยด์เกิดเดี่ยว ๆ เป็นแบบมีก้านติดอยู่ข้าง ๆ คลอโรพลาสต์ โดยมีผนังคลอโรพลาสต์หุ้มรวมไว้
5.3 นิวเคลียสมีเพียง 1 อัน ในแต่ละเซลล์
5.4 อาหารสะสมมี 3 ชนิด ได้แก่
1. โพลีแซกคาไรด์ที่ละลายน้ำ ได้แก่ ลามินาริน (Laminarin) หรือลามินาเรน (Laminaran) มีปริมาณตั้งแต่ 2-34 % ของน้ำหนักแห้ง
2. แมนนิตอล (Mannitol) พบเฉพาะในสาหร่ายสีน้ำตาลเท่านั้น
3. น้ำตาลจำพวกซูโครส (Sucrose) และกลีเซอรอล (Glycerol)
6. การสืบพันธุ์ สาหร่ายสีน้ำตาลมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ โดยมีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) คล้ายกับพืช ความสำคัญของสาหร่ายสีน้ำตาล - ไจแอนด์ เคลป์ (giant kelp) เป็นสาหร่ายสีน้ำตาลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด แผ่กระจายไปในทะเล ช่วยให้เป็นที่อยู่อาศัยและเป็นอาหารของสัตว์ทะเล - ลามินาลิน (Laminarin sp.) พาไดนา (Padina sp.) ฟิวคัส (Fucus sp.) นำมาสกัดสารโปตัสเซียมหรือใช้ทำปุ๋ยบำรุงดิน - ซาร์กัสซัม (Sargussum sp.) หรือสาหร่ายทุ่น นำมาใช้ประกอบอาหารและให้โปรตีนสูง - ลามินาเรีย (Laminaria sp.) และเคลป์ สามารถนำมาสกัดสารอัลจินซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น ทำอาหาร ยา กระดาษ ยาง สบู่ เส้นใย เป็นต้น

ไฟลัมคริโซไฟตา ( Phylum Chrysophyta )

ไฟลัมคริโซไฟตา ( Phylum Chrysophyta ) มีลักษณะสำคัญดังนี้

1. สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง ( goldenbrown algae ) มีประมาณ 16,600 สปีชีส เป็นผู้ผลิตที่มีมากที่สุดในทะเล
2. รงควัตถุที่พบในเซลล์มีรงควัตถุสีเขียว คือ คลอโรฟิลล์ เอ และคลอโรฟิลล์ ซี และมีรงควัตถุสีน้ำตาล คือ ฟิวโคแซนทิน (Fucoxanthin) ซึ่งมีมากที่สุดถึง 75 % ของรงควัตถุทั้งหมด และลูเทอริน (Luthein) ปริมาณมากกว่าคลอโรฟิลล์จึงทำให้มีสีน้ำตาลแกมทอง
3. มีทั้งพวกเซลล์เดียวและหลายเซลล์อยู่กันเป็นสายหรือรวมเป็นกลุ่ม
4. ผนังเซลล์มีสารพวกซิลิกา (Sillica) สะสมอยู่ประมาณ 95% ทำให้มีลวดลายสวยงามมาก ผนังเซลล์ที่มีซิลิกาเรียก ฟรุสตุล (Frustule) ฟรุสตุลประกอบด้วย ฝา 2 ฝา ครอบกันอยู่สนิทแน่น แต่ละฝาเรียกทีกา (Theca) ฝาบนเรียก อีพิทีกา (Epitheca) มีขนาดใหญ่กว่าครอบอยู่บนฝาล่างซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเล็กน้อย เรียก โฮโปทีกา (Hypotheca)
5. อาหารสำรองภายในเซลล์คือ หยดน้ำมัน (Oil droplet) และเม็ดเล็ก ๆ ของสารประกอบคาร์โบโฮเดรตชนิดพิเศษ เรียกว่า ลิวโคซิน (Leucosin) หรือ คริโซลามินารีน (Chrysolaminarin)
6. การสืบพันธุ์มีทั้งแบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งเซลล์ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนที่พบเสมอ ๆ ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบอาศัยเพศ ความสำคัญของสาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง
1. เป็นผู้ผลิตที่มากที่สุดในทะเล เป็นอาหารของปลา
2. เปลือกของไดอะตอมที่ทับถมกันอยู่มาก ๆ เป็นเวลานาน เรียกว่า ไดอะตอมเอเชียส เอิร์ธ (Diatomaceous earth) หรือไดอะตอมไมท์ (Diatomite) มีชื่อทางการค้าว่า Kieselguhr ในสมัยก่อนเคยใช้ในการกรองน้ำยาต่าง ๆ ใช้เป็นฉนวน หรือใช้ขัดเงาเครื่องโลหะต่าง ๆ ผสมยาสีฟัน ใช้ในการทำ dynamite ผสมในสีสะท้อนแสง ไดอะตอมเอเชียส เอิร์ธ พบมากเป็นภูเขาในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และทางภาคเหนือบางจังหวัดของประเทศไทย
3. ใช้ทดสอบเลนส์ของกล้องจุลทรรศน์ ถ้าเลนส์มีคุณภาพสูงจะเห็นว่าฝาของไดอะตอมเป็นจุด ๆ แต่ถ้าคุณภาพต่ำจะเห็นเป็นเส้น
4. หยดน้ำมันที่สะสมในเซลล์ของไดอะตอม เมื่อเซลล์ตายไปหยดน้ำมันเหล่านั้นจะสะสมใต้พื้นดินเป็นแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมที่สำคัญของโลก


ไฟลัมยูกลีโนไฟตา ( Phylum Euglenophyta )


สาหร่ายในดิวิชันนี้เรียกว่า ยูกลีนอยด์ (euglenoid) ซึ่งจัดเป็นโปรโตซัวในคลาสแฟลก เจลลาตาด้วย มีลักษณะสำคัญดังนี้
4.1 มีคลอโรฟิลล์เป็นชนิด เอ และ บี คาโรทีน แซนโทฟิลล์
4.2 อาหารสะสมเป็นแป้ง เรียกว่า พาราไมลัม (Paramylum)
4.3 ไม่มีผนังเซลล์ มีแต่เยื่อเซลล์เหนียวๆ เรียกว่า Pellicle ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของเซลล์
4.4 เป็นเซลล์เดียวมีแฟลกเจลลา 1-3 เส้นอยู่ทางด้านหน้า
4.5 ตัวอย่างของสาหร่ายดิวิชันนี้ได้แก่ - ยูกลีนา (Euglena) และฟาคัส (Phacus) มีแฟลก เจลลัม 1 เส้นอยู่ทางด้านหน้า อาศัยอยู่ในน้ำจืดและในดินที่ชื้นแฉะ

ไฟลัมโปรโตซัว (Phylum Protozoa)

โปรโตซัว
เป็นโปรติสต์เซลล์เดียวที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ ในตอนแรกจึงถูกจัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. เป็นเซลล์เดียวบางชนิดเป็นเซลล์อยู่เดี่ยว ๆ บางชนิดรวมกันเป็นกลุ่ม (colony) มีขนาดเล็กต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
2. ไม่มีอวัยวะหรือเนื้อเยื่อใด ๆ มีออร์กาแนลทำหน้าที่ต่าง ๆ ในเซลล์
3. มีเซลล์เมมเบรนเป็นกรอบของเซลล์บางชนิดมีโครงแข็งหุ้มเป็นสารพวกเซลลูโลส หรือเจลาติน
4. ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลว โดยคอนแทรกไทล์ แวคิวโอล นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ ควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ด้วย จึงเรียกคอนแทรไทล์ของโปรโตซัวว่าเป็น ออสโมเรกูเลเดอร์ (osmoregulator) 5. การดำรงชีวิตมีทั้งที่หากินเป็นอิสระในน้ำเน่า เช่น อะมีบา สังเคราะห์ด้วยแสง สร้าง อาหารได้เอง เช่น ยูกลีนา เป็นปรสิต เช่น เชื้อไข้จับสั่น
6. การสืบพันธุ์ ตามปกติจะสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศ คือการแบ่งตัวจาก 1 เป็น 2 นอกจากนี้ยังมีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ คือการเข้าจับคู่กันหรือการคอนจูเกชัน (conjugation)
7. การเข้าเกราะ (encystment) พบในโปรโตซัวหลายชนิด เช่นยูกลีนา จะเข้าเกราะเมื่อ สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสม
8. รูปร่างมีหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นรูปไข่ ยาวรี หรือมีรูปร่างไม่แน่นอน
9. อวัยวะเคลื่อนที่ของโปรโตซัวในแต่ละกลุ่มจะแตกต่างกัน ซึ่งจะนำมาใช้ในการแบ่ง หมวดหมู่ระดับคลาส เช่น มีแฟลกเจลลา ซีเลีย เป็นต้น
ไฟลัมโปรโตซัว แบ่งออกเป็น 5 คลาส คือ

1.คลาสแฟลกเจลลา (Class Flagellate)
2.คลาสซาโคดินา (Class Sarcodina)
3.คลาสสปอโรซัว (Class Sporozoa)
4.คลาสซีเลียตา (Class Cillata)
5.คลาสซัคโทเรีย (Class Suctoria)

ไฟลัมคลอโรไฟตา ( Phylum Chlorophyta )

ไฟลัมคลอโรไฟตา ( Phylum Chlorophyta ) ได้แก่สาหร่ายสีเขียว ( green algae) มีทั้วหมดประมาณ 17,500 สปีชีส์ พบอยู่ในน้ำจืดมากกว่าในน้ำเค็ม พบในดินที่เปียกชื้น แม่น้ำลำคลอง ทะเลสาบ และในทะเล มีลักษณะที่สำคัญดังนี้

1. จำนวนเซลล์มีทั้งพวกเซลล์เดี่ยวหรือหลายเซลล์ต่อกันเป็นสายยาว หรือรวมกันเป็นกลุ่ม มีทั้งเคลื่อนที่ได้ และเคลื่อนที่ไม่ได้ - พวกเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่ได้ โดยมีแฟลกเจลลัมใช้โบกพัด จำนวน 2-4 เส้น เช่น แคลมมิโดโมแนส ( Chlamydomonas ) - พวกเซลล์เดียวที่เคลื่อนที่ไม่ได้ โดยไม่มีแฟลกเจลลัม เช่น คลอเรลลา (Chlorella) คลอโรคอคคัม (Chlorococcoum) - พวกหลายเซลล์ต่อกันเป็นสายยาว เช่น ยูโลทริกซ์ (Ulothrix) อีโดโกเนียม (Oedogonium) สไปโรไจรา หรือเทาน้ำ (Spirogyra) - พวกหลายเซลล์เป็นกลุ่ม (Clolnial forms) เช่น วอลวอกซ์ (Volvox) เพดิแอสดรัม (Pediastrum) ซีนเตสมัน (Scenedesmus)
2. รงควัตถุที่พบจะเป็นเช่นเดียยวกับที่พบในพืชชั้นสูง คือ มีคลอโรฟิลล์ เอ, คลอโรฟิลล์ บี, คาโรทีน และแซนโทฟิลล์ รงควัตถุทั้งหมดนี้จะประกอบกันด้วยอัตราส่วนที่เหมือนกับพวกพืชชั้นสูงจึงทำให้มีสีเขียวสด รงควัตถุทั้งหมดนี้จะรวมกันอยู่ในเม็ดสี หรือพลาสติด (Plastid) ที่เรียกว่า คลอโรพลาสต์ โดยอาจจะมี 1 อัน หรือมากกว่า 1 อัน คลอโรพลาสต์ของสาหร่ายสีเขียวมีรูปร่างหลายแบบ เช่น - รูปร่างเป็นเม็ด ๆ พบใน ไบรออปซิส (Bryopsis) - รูปร่างเป็นเกลียว พบใน สไปโรไจรา (Spirogyra) - รูปร่างเป็นคล้ายร่างแห พบใน อีโดโกเนียม (Oedogonium) - รูปร่างเป็นแผ่น พบใน ยูโลทริกซ์ (Ulothrix) - รูปร่างเป็นรูปดาว พบใน ซิกนีมา (Zygnema) - รูปร่างเป็นรูปตัว U พบใน คลอเรลลา (Chlorella)
3. โครงสร้างของผนังเซลล์ ประกอบด้วย เซลลูโลส (Cellulose) บางชนิดมีเปกติน (Pectin) เคลือบอยู่ภายนอกบาง ๆ บางชนิดมีแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium Carbonate)
4. อาหารที่เก็บไว้ก็คือ ไพรีนอยด์ (Pyrenoids) อยู่ในเม็ดคลอโรพลาสต์ เข้าใจว่าไพรีนอยด์เป็นโครงสร้างที่มีโปรตีนเป็นแกนกลาง และมีแผ่นแป้งหุ้มล้อมรอบอยู่
5. การสืบพันธุ์ - แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กัน ในพวกเซลล์เดียว หรือหักสาย (Fragmentation) หรือสร้างสปอร์ - แบบอาศัยเพศ โดยคอนจูเกชัน (Conjugation) หรือการปฏิสนธิ (Fertilization)
6. แหล่งที่อยู่ สาหร่ายสีเขียวพบในน้ำจืดเป็นส่วนใหญ่ ในน้ำเค็มก็มีบ้างตามที่ชื้นแฉะทั่วไป เปลือกไม้ ใบไม้ ก้อนหินเปียก ๆ และบนหิมะก็มี บางชนิดอยู่ในภาวะพึ่งพากับรา เกิดเป็นไลเคน บางชนิดก็เป็นปรสิตของพืชชั้นสูง ความสำคัญของสาหร่ายสีเขียว
1. สาหร่ายบางชนิดให้โปรตีนสูง เช่น ซีนเดสมัส (Scenedesmus) คลอเรลลา (Chlorella) และเพดิแอสตรัม (Pediastrum) จึงนำมาประกอบอาหารประเภทโปรตีนได้บางชนิดเป็นอาหารของสัตว์น้ำทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม เทาน้ำหรือสไปโรไจรานั้น ทางภาคอีสานนำมาประกอบอาหารรับประทานได้ แต่มีโปรตีนต่ำ
2. สาหร่ายสีเขียวจะช่วยทำให้น้ำบริสุทธิ์โดยจะใช้ CO2 สังเคราะห์แสงและปล่อย O2 ออกมา
3. สาหร่ายสีเขียวเป็นผู้ผลิตที่มีมากที่สุดในน้ำจืดจึงมีความสำคัญในห่วงโซ่อาหารและสายใยอาหารของระบบนิเวศ



วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)

การจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 2 อาณาจักร

คือ อาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์นั้นเกิดปัญหาที่สำคัญคือสิ่งมีชีวิต บางชนิดมีลักษณะทั้งพืชและสัตว์อยู่ในตัวเอง จึงทำให้นักพฤกษศาสตร์จัดไว้ในอาณาจักรพืช และนักสัตววิทยาก็จัดไว้ในอาณาจักรสัตว์ ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวอยู่ทั้งสองอาณาจักร ดังนั้น Ernst Haeckel นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันจึงได้ เสนอชื่อ โปรติสตา (protista) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตพวกแรก ๆ ขึ้นมาใช้ จึงทำให้แยกสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีลักษณะของพืชหรือสัตว์ อย่างชัดเจน ออกจากอาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ แล้วตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ ชื่อ "อาณาจักรโปรติสตา" ลักษณะสำคัญของโปรติสต์ (Protist)
1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่าง อิสระ

2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์ที่มีระยะตัวอ่อนก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย 3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)
4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ
5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้
6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตามีดังนี้
1. โปรติสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตในไฟลัมโปรโตซัว คือ พวกโปรโตซัวหรือที่เราเรียกว่า สัตว์เซลล์เดียว
2. โปรติสต์ที่มีลักษณะคล้ายพืช ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า พวกสาหร่าย (algae) แบ่งออกเป็น 6 ไฟลัม คือ 2.1 ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีเขียว
2.2 ไฟลัมคริสโซไฟตา (Phylum Chrysophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง
2.3 ไฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta) ได้แก่ พวกยูกลีนา (จัดอยู่ในพวกโปรโตซัวด้วย )
2.4 ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta) ได้แก่ พวกสาหร่ายสีน้ำตาล
2.5 ไฟลัมไพร์โรไฟตา (Phylum Pyrrophyta) ได้แก่ พวกสาหร่ายเปลวไฟ หรือไดโนแฟลกเจลเลต (dinoflagellate) จัดอยู่ในพวกโปรโตซัวด้วย
2.6 ไฟลัมโรโดไฟตา (Phylum Rhodophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีแดง
3. โปรติสต์พวกเห็ดรา และราเมือก แบ่งออกเป็น 2 ดิวิชัน คือ
3.1 ไฟลัมยูไมโคไฟตา (Phylum Eumycophyta) ได้แก่ พวกเห็ด รา ยีสต์
3.2 ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophata) ได้แก่ ราเมือก

วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)


การจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์นั้นเกิดปัญหาที่สำคัญคือสิ่งมีชีวิต บางชนิดมีลักษณะทั้งพืชและสัตว์อยู่ในตัวเอง จึงทำให้นักพฤกษศาสตร์จัดไว้ในอาณาจักรพืช และนักสัตววิทยาก็จัดไว้ในอาณาจักรสัตว์ ซึ่งมันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวอยู่ทั้งสองอาณาจักร ดังนั้น Ernst Haeckel นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันจึงได้ เสนอชื่อ โปรติสตา (protista) ซึ่งหมายถึงสิ่งมีชีวิตพวกแรก ๆ ขึ้นมาใช้ จึงทำให้แยกสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีลักษณะของพืชหรือสัตว์ อย่างชัดเจน ออกจากอาณาจักรพืชและอาณาจักรสัตว์ แล้วตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ ชื่อ "อาณาจักรโปรติสตา" ลักษณะสำคัญของโปรติสต์ (Protist)
1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular) บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่ม เรียกว่า โคโลนี (colony) หรือเป็นสายยาว (filament) แต่ยังไม่ทำหน้าที่ ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue)หรืออวัยวะ (organ) แต่ละเซลล์สามารถทำหน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่าง อิสระ

2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งต่างจากพืชและสัตว์ที่มีระยะตัวอ่อนก่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย 3. การดำรงชีพ มีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์ เป็นผู้บริโภค (Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลายอินทรียสาร (Decomposer)

4. โครงสร้างของเซลล์เป็นแบบยูคาริโอติก (Eucaryotic) ซึ่งมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ได้แก่ โพรโทซัว เห็ด รา ยีสต์ ราเมือก สาหร่ายต่าง ๆ

5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ ซีเลีย (cilia) แฟลกเจลลัม (flagellum) หรือซูโดโปเดียม (Pseudopodium) บางชนิดเคลื่อนที่ไม่ได้

6. การสืบพันธุ์ ทั้งแบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) และแบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) แบบอาศัยเพศมีทั้งชนิดคอนจูเกชัน (Conjugation) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ที่มีรูปร่างและขนาดเหมือนกัน มารวมกัน ดังเช่นที่พบในพารามีเซียม ราดำ เป็นต้น และชนิดปฏิสนธิ (fertilization) ซึ่งเกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ ที่มีรูปร่างและขนาดต่างกันมารวมกัน ดังเช่นที่พบในสาหร่ายเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตามีดังนี้

1. โปรติสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตในไฟลัมโปรโตซัว คือ พวกโปรโตซัวหรือที่เราเรียกว่า สัตว์เซลล์เดียว

2. โปรติสต์ที่มีลักษณะคล้ายพืช ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า พวกสาหร่าย (algae) แบ่งออกเป็น 6 ไฟลัม คือ 2.1 ไฟลัมคลอโรไฟตา (Phylum Chlorophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีเขียว

2.2 ไฟลัมคริสโซไฟตา (Phylum Chrysophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง

2.3 ไฟลัมยูกลีโนไฟตา (Phylum Euglenophyta) ได้แก่ พวกยูกลีนา (จัดอยู่ในพวกโปรโตซัวด้วย )

2.4 ไฟลัมเฟโอไฟตา (Phylum Phaeophyta) ได้แก่ พวกสาหร่ายสีน้ำตาล

2.5 ไฟลัมไพร์โรไฟตา (Phylum Pyrrophyta) ได้แก่ พวกสาหร่ายเปลวไฟ หรือไดโนแฟลกเจลเลต (dinoflagellate) จัดอยู่ในพวกโปรโตซัวด้วย

2.6 ไฟลัมโรโดไฟตา (Phylum Rhodophyta) ได้แก่ สาหร่ายสีแดง

3. โปรติสต์พวกเห็ดรา และราเมือก แบ่งออกเป็น 2 ดิวิชัน คือ

3.1 ไฟลัมยูไมโคไฟตา (Phylum Eumycophyta) ได้แก่ พวกเห็ด รา ยีสต์

3.2 ไฟลัมมิกโซไมโคไฟตา (Phylum Myxomycophata) ได้แก่ ราเมือก

1. โดเมนแบคทีเรีย (domain Bacteria) เป็นพวกโปรคาริโอท ที่มีเพียง 1 เซลล์และเป็นแบคทีเรียที่แท้จริง (prokaryotic eubacteria) มี 1 อาณาจักร คือ อาณาจักรแบคทีเรีย (kingdom Bacteria)


2. โดเมนอาร์เคีย (domain Archaea) เป็นพวกโปรคาริโอทคล้ายแบคทีเรีย แต่มีความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่รุนแรง เช่น ในบริเวณร่องน้ำลึกใต้ท้องทะเลที่มีอุณหภูมิสูงมาก หรือในสภาพที่เป็นกรดจัดหรือเค็มจัด รวมทั้งบางพวกสามารถอาศัยอยู่ในบริเวณที่หนาวจัดมีแต่น้ำแข็งได้ สิ่งมีชีวิตในโดเมนนี้จัดอยู่ในอาณาจักรอาร์เคีย (kingdom Archaea)
3.โดเมนยูคาร์ยา (domain Eukarya) เป็นพวกยูคาริโอทที่เหลือทั้งหมด สิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้สามารถจัดจำแนกออกเป็น 4 อาณาจักร คือ อาณาจักรโปรติสตา (kingdom Protista) อาณาจักรฟังไจ (kingdom Fungi) อาณาจักรพืช (kingdom Plantae) และอาณาจักรสัตว์ (kingdom Animalia)

อาณาจักรมอเนอรา

- เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell) - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ
1. ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)
ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)
สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้ได้แก่ แบคทีเรีย ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมซิโซไฟดา คือ
1. มีเซลล์ขนาดเล็ก
2. ลักษณะรูปร่าง มี 3 ลักษณะคือ
2.1 รูปร่างกลม เรียกว่า coccus (coccus = เอกพจน์ cocci = พหูพจน์)
2.2 รูปร่างแบบแท่งยาว เรียกว่า bacillus (bacillus = เอกพจน์ bacilli = พหูพจน์)
2.3 รูปร่าง เกลียว เรียกว่า spirillum (spirillum = เอกพจน์ spirillum = พหูพจน์)
3. เซลล์รูปร่างต่าง ๆ มีการเรียงตัวทำให้เกิดลักษณะเฉพาะ เช่น แบคทีเรียที่มีรูปร่างทรงกลมมีการเรียงตัวหลายแบบ - เซลล์ทรงกลม 2 เซลล์เรียงต่อกันเรียก diplococci - เซลล์หลายเซลล์เรียงต่อกันเป็นลูกโซ่เรียก streptococci - เซลล์หลายเซลล์เรียงกันเป็นกลุ่มก้อนคล้ายพวงองุ่น เรียก staphylococci - เซลล์ 8 เซลล์ เรียงเป็นลูกบาศก์เรียก sarcina แบคทีเรียที่มีรูปร่างทรงกระบอก ไม่ค่อยมีแบบแผนการเรียงตัวที่เด่นชัดเท่าทรงกลม แต่อาจมีการเรียงตัวของเซลล์เนื่องมาจากระยะการเจริญเติบโตหรือขึ้นกับสภาพของการเพาะเลี้ยงในอาหาร แบคทีเรียที่มีรูปร่างแบบเกลียว มักอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ แต่ละชนิดมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านความยาว จำนวนเกลียว ความโค้ง
4. แหล่งที่พบแทบทุกแห่งในดินในน้ำ ในอากาศ แหล่งที่เป็นน้ำพุร้อน เขตหิมะ ทะเลลึก
5. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการสารอาหาร
5.1 Photoautotroph
5.2 Photoheterotroph
5.3 Chemoautotroph
5.4 Chemoheterotroph
6. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอากาศ
6.1 Aerobic bacteria
6.2 Facultative bacteria
6.3 microaerophilic bacteria
6.4 Anaerobic bacteria 7. การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอุณหภูมิ
7.1 Psychrophile
7.2 Mesophile
7.3 Thermophile โครงสร้างของแบคทีเรียที่แตกต่างจากเซลล์อื่น ๆ

1. แบคทีเรียมี ribosome ชนิด 70 s และสารพันธุกรรมเป็น DNA โดย (single circular DNA)
2. ผนังเซลล์ (cell wall) ทำหน้าที่คงรูปร่างของเซลล์ ป้องกันเซลล์แตกประกอบด้วย peptidoglycan ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาล 2 ชนิด คือ N-actyl glucosamine (NAG) และN-acytyl muramic acid (NAM) และ มี amino acid หลายชนิด และ lipoprotein lipopolysac teichoic acid
3. Capsule เป็นส่วนที่อยู่นอกผนังเซลล์ สามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และทนต่อการทำลายของเม็ดเลือดขาว พบแคปซูลในแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้น แบคทีเรียที่มีแคปซูลมักก่อโรครุนแรง
4. pilil มีลักษณะเป็นขนคล้ายแฟลกเจลลา แต่มีขนาดเล็ก มีลักษณเป็นท่อกลวง ไม่มีหน้าที่ในการเคลื่อนที่แต่ช่วยให้เกาะยึดติดกับผิววัสดุ และ Sex pilli ช่วยในการถ่ายทอด DNA ใน Conjugation
5. mesosome เป็นส่วนที่เยื่อหุ้มเซลล์บางส่วนยื่นเว้าเข้าไปในcytoplasm จะพบบริเวณ ที่จะมี การแบ่งเซลล์
6. Flagella เป็นโครงสร้างใช้ในการเคลื่อนที่ แบคทีเรียส่วนใหญ่เป็นพวกที่เคลื่อนที่ได้ แฟลกเจลลาประกอบด้วยเส้นใยเส้นเดี่ยว ๆ ซึ่งต่างจากแฟลกเจลลาของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ แบคทีเรียอาจมีแฟลกเจลลา 1 เส้นจนถึงหลายร้อยเส้น และอยู่ได้หลายตำแหน่ง ส่วนของแฟลกเจลลา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ basal body , hook และ filament
7. Plasmid เป็น DNA ที่อยู่นอกโครโมโซมของแบคทีเรีย ลักษณะของพลาสมิดเป็น DNA วงแหวน และเป็นเกลียวคู่ สามารถจำลองตัวเองได้และสามารถถ่ายทอดไปยังแบคทีเรียอื่น ๆ ได้ พลาสมิดมีหลายชนิด บางชนิดควบคุมการสืบพันธุ์แบบมีเพศของเซลล์ บางชนิดควบคุมการดื้อต่อยาปฏิชีวนะต่าง ๆ
8. endospore เป็นโครงสร้างที่พบในแบคทีเรียบางชนิด เป็นโครงสร้างที่ทำให้แบคทีเรียมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ เอนโดสปอร์เกิดขึ้นภายในเซลล์และสร้างได้ 1 สปอร์ต่อ 1 เซลล์จะไม่ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ แต่ถือว่าเป็นการดำรงชีพ การสืบพันธุ์ของแบคทีเรีย ส่วนใหญ่แบคทีเรียสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศที่เรียกว่า Transverse Binary Fission บางชนิดมีการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมได้ 3 รูปแบบคือ 1. Conjugation คือ การถ่ายทอดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งด้วยการจับคู่สัมผัสกันโดยตรง 2. Transformation คือ การถ่ายทอด DNA ตัวเปล่า (naked DNA) หรือ DNA อิสระจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง 3. Transduction คือ การถ่ายทอดยีนจากแบคทีเรียเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งโดยอาศัยไวรัสหรือ Bacteriophage การจำแนก Bacteria อาศัยลักษณะดังนี้ 1. ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ รูปร่าง 2. ตามอาหารที่ได้รับ แบ่งเป็น 2.1 พวก Autotroph เป็นพวกที่สามารถสร้างอาหารเองได้ 2.2 พวก Heterotroph เป็นพวกที่สามารถสร้างอาหารเองไม่ได้ 3. การติดสีของผนังเซลล์ [ Gram stain ] แบ่งเป็น 3.1 Gram positive เป็นพวกที่ติดสีย้อมคริสตัลไวโอเลต 3.2 Gram negative เป็นพวกที่ติดสีย้อมซาฟานิน 4. การหายใจ ความต้องการใช้อากาศหรือ O2 5. ลักษณะการเลี้ยงเชื้อ : อาหาร สภาพแวดล้อม 6. ลักษณะทางแอนติเจน ประโยชน์ของแบคทีเรีย 1. ด้านอุตสาหกรรม เช่นการผลิตอาหารหมัก ใช้ฟอกหนัง 2. ด้านการเกษตร เช่นใช้เป็นปุ๋ย 3. การทดสอบคุณภาพน้ำ 4. ทางด้านการแพทย์ เช่นการผลิตยาปฏิชีวนะ 5. ใช้ในเทคโนโลยีชีวภาพ โดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมสร้างแบคทีเรียที่มีลักษณะต่าง ๆ 6. ช่วยย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นอาหารของพืช โทษของแบคทีเรีย 1. ผลิตสารพิษที่เป็นอันตราย 2. ทำให้เกิดโรคต่างๆ ใน คน เช่น ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ปอดบวม วัณโรค คอตีบ สัตว์ เช่น แอนแทรกซ์ บาดทะยัก และพืช เช่น โรครากเน่า โรคใบไม้ของสาลี่ 2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)
ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)
ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ปัจจุบันเรียกชื่อใหม่ว่า Cyanobacteria ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไซยาโนไฟตา คือ 1. ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส เป็นเซลล์พวกโปรคารีโอต ไม่มี flagella 2. มี chlorophyll phycocyanin phycorythin กระจายในเซลล์ แต่ไม่ได้รวมเป็น chloroplast 3. ผนังเซลล์เป็น cellulose และ pectin 4. มีขนาดเล็ก อาจอยู่ในลักษณะ 4.1 เซลล์เดี่ยว หรือเซลล์กลุ่ม เช่น
4.2 เซลล์ที่จัดเรียงเป็นสาย
การสืบพันธุ์ของ Cyanocacteria 1. การแบ่งตัว Binary fission. 2. การหักเป็นท่อน (fragmentation) พบในพวกที่เป็นสาย 3. สร้างสปอร์หรือสร้างเซลล์พิเศษ เช่น akinete ประโยชน์ - เป็นผู้ผลิตอาหาร และ O2 - Spirulina หรือเกลียวทอง มี protein สูง ใช้ทำอาหารเสริมคนและสัตว์ - Nostoc Anabaena Oscillatori สามารถเพิ่มความตรึง N ทำเป็นปุ๋ยในดิน เช่น แหนแดง (Azolla) ซึ่ง Anabaena อยู่ช่องว่างกลางใบ


สาเหตุของการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ


การสูญเสียความหลากหลายทางธรรมชาติที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ในพื้นที่ที่กระทบต่อระบบนิเวศสามารถจำแนกได้ประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1). การลดพื้นที่ ( reduction)
2). การแบ่งแยกพื้นที่ ( fragmentation)
3) การแทนที่ ( substitution)
4) การทำให้สูญพันธุ์ ( extinction)
5) การทำให้ปนเปื้อน ( contamination


การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต


การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต (classification of organisms) การจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ไม่ใช่เพียงเป็นการบอกชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่จะต้องสามารถบ่งบอกถึงลำดับของสิ่งมีชีวิตและตำแหน่งในการเกิดขึ้นของชนิดในขบวนการวิวัฒนาการได้ด้วย การศึกษาชนิด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและความสัมพันธ์ในเชิงวิวัฒนาการระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ เรียกว่า อนุกรมวิธาน taxonomy หรืออาจเรียกว่า systematics แต่นักชีววิทยาบางส่วนอาจจะแยกทั้งสองศาสตร์นี้ออกจากกัน โดยถือว่า taxonomy เป็นการศึกษาเพื่อให้คำอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ (description of species) ส่วน systematics เป็นการศึกษาเพื่อจัดกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการมาเหมือนกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสามารถใช้ในการอธิบายความสัมพันธ์ของชาติวงศ์วานและนำมาจัดเป็นประวัติชาติพันธุ์ (phylogeny) ของสิ่งมีชีวิตกลุ่มต่างๆ ได้
การจัดทำ phylogeny ของสิ่งมีชีวิตสามารถทำได้ในทุกระดับของสิ่งมีชีวิต เช่น การทำ phylogeny เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีช ี วิตที่อยู่ใน
อาณาจักรพืช (อธิบายเพิ่มเติม) อาณาจักรสัตว์ (อธิบายเพิ่มเติม) และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระดับอื่นๆ เช่นในระดับสกุล (genus
การจัดลำดับทางอนุกรมวิธาน (taxonomic hierarchy) Karl von Linne' (Carolus Linnaeus) (1707-1778) เป็นผู้จัดทำ binomial system โดยกำหนดให้การเรียกชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตจะต้องมีประกอบด้วย 2 ส่วน (binomial nomenclature) คือ ชื่อ genus และชื่อ species ซึ่งสิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดที่มีลักษณะร่วมกันจะรวมกันอยู่ในลำดับที่ใหญ่ขึ้น กลุ่มของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันจะเรียกว่าอยู่ใน taxon เดียวกัน (อธิบายเพิ่มเติม) ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันนั้นจะมีพื้นฐานทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นจะต้องมีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการกัน (evolutionary relationship) ลักษณะที่ใช้ในการจัดกลุ่มสิ่งมีชีวิตอาจจะเป็นลักษณะใดก็ได้ที่สามารถวัดได้ เช่น ลักษณะทางกายวิภาค สัณฐานวิทยา ความแตกต่างของการสร้างเอ็นไซม์ ลำดับของเบสของ DNA หรือ RNA
ค . ศ . 1969 Robert H. Whittaker ได้เสนอให้มีการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นอาณาจักรต่างๆ ( kingdom) โดยอาศัยลักษณะและการจัดเรียงตัวของเซลล์และความแตกต่างของลักษณะการกินอาหาร โดยสามารถเรียงลำดับหมวดหมู่จากสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันมากกว่าไปหาสิ่งมีชีวิตที่มีความสัมพันธ์กันน้อยกว่าแบ่งเป็น ชนิด ( species) สกุล ( genus) วงศ์ ( family) อันดับ ( order) ชั้น ( class) ไฟลัม (phylum) อาณาจักร (kingdom) และจัดจำแนกสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร
(อธิบายเพิ่มเติม) คือ
1.อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera) คือพวกสิ่งมีชีวิตที่เป็นโปรคาริโอท (prokaryote) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ได้แก่ แบคทีเรียและไซยาโนแบคทีเรีย
2.อาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (unicellular organisms) ที่เป็นพวกยูคาริโอท (eukaryote) อาจจะอาศัยอยู่เดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม เช่น อมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา
3.อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organisms) ที่เป็นยูคาริโอท กินอาหารโดยการย่อยสลายสารอินทรีย์ต่างๆ ได้แก่ เห็ด และรา
4.อาณาจักรพืช ( Kingdom Plantae) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกพืชซึ่งเป็นพวกยูคาริโอทที่มีหลายเซลล์ มีผนังเซลล์ (cell wall) ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง มีความสามารถในการสังเคราะห์แสง
5.อาณาจักรสัตว์ ( Kingdom Animalia) เป็นสิ่งมีชีวิตพวกสัตว์ที่เป็นพวกยูคาริโอทที่มีหลายเซลล์ ไม่มีผนังเซลล์ กินอาหารโดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้อย่างน้อยในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต

ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาของวิทยาการทางด้านชีววิทยาระดับโมเลกุล มีการนำวิทยาการใหม่ๆ มาศึกษาด้านการจัดจำแนกสิ่งมีชีวิต (molecular systematics) ซึ่งจากการเปรียบเทียบลำดับเบส (base sequence) ใน ribosomal RNA ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก สามารถสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตมีต้นกำเนิดมาจากบรรพบุรุษเดียวกันและเมื่อมีวิวัฒนาการแยกออกเป็น 3 สาย (lineage) ตั้งแต่เมื่อ 1.5 พันล้านปี แต่ละสายวิวัฒนาการ เรียกว่า โดเมน (domain) ซึ่งเป็น taxon ที่ใหญ่กว่า kingdom โดยแบ่งออกเป็น 3 โดเมนและ 6 อาณาจักร

1. โดเมนแบคทีเรีย (domain Bacteria)
2. โดเมนอาร์เคีย (domain Archaea)
3. โดเมนยูคาร์ยา (domain Eukarya

ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)


ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ


ความหลากหลายทางชีวภาพ ( Biodiversity หรือ Biological Diversity) หมายความถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ มาจากคำ 2 คำ คือ Biological หมายถึง ชีวภาพ และ diversity หมายถึง ความหลากหลาย


ระดับของความหลากหลายทางชีวภาพ



การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ระดับคือ

1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic diversity) หมายถึง ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อแม่และส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปเช่น ลักษณะความหลากหลายของลวดลายและสีของหอยทาก
Cepaea nemoralls (อธิบายเพิ่มเติม ) ความหลากหลายของสีสันของ emerald tree boas Corallus canius (อธิบายเพิ่มเติม ) ลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดนั้นผ่านทางยีนส์ (genes) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งส่งผลให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันไปตาม gene ที่ได้รับการถ่ายทอดมา ตัวอย่างของความหลากหลายทางพันธุกรรมมีอยู่ทุกครอบครัวของสิ่งมีชีวิต พี่น้องอาจมีสีผม สีผิวและสีของนัยน์ตาที่แตกต่างกัน เป็นต้น



ความแตกต่างผันแปรทางพันธุกรรมในแต่ละหน่วยชีวิตนั้นมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลง พันธุกรรม( mutation) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระดับ gene หรือในระดับโครโมโซม ผสมผสานกับกลไกที่เรียกว่า Crossingover ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ สำหรับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เป็นผลทำให้ gene สลับที่รวมตัวกันใหม่ (Recombination) ซึ่งจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานต่อ ๆ ไปในประชากร
2.ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species diversity) หมายถึงจำนวนชนิด และจำนวนหน่วยสิ่งมีชีวิตที่เป็นสมาชิก ของแต่ละชนิดที่มีอยู่ใน แหล่งที่อยู่อาศัยในประชากรนั้น ๆ หรือหมายถึงความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต (species) ที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งนั่นเอง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่วิวัฒนาการอยู่บนโลกนี้ในปัจจุบันมีจำนวนชนิดอยู่ระหว่าง 2-30 ล้านชนิด โดยที่มีบันทึกอย่างเป็นทางการแล้วประมาณ 1.4 ล้านชนิด แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร ดังนี้คือ

อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Mornera)
อาณาจักรโพรติสตา (Kingdom Protista)
อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)
อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

3.ความหลากหลายของระบบนิเวศหรือแหล่งที่อยู่อาศัย (Ecological system diversity หรือ Habitat diversity) คือความซับซ้อนของลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลก เมื่อประกอบกับสภาพภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศทำให้เกิดระบบนิเวศหรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน การที่สามารถพบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่ได้โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติตามกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ประกอบด้วยความหลากหลาย 3 ประเด็น คือ

ก) ความหลากหลายของถิ่นตามธรรมชาติ ( habitat diversity) ในแต่ละบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันไป บริเวณใดที่มีความหลากหลายของแหล่งที่อยู่อาศัย ที่นั่นจะมีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายไปด้วยเช่นกัน
ข) ความหลากหลายของการทดแทน (Successional diversity) เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มพัฒนาขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตขึ้นมาก่อนและพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนสิ่งมีชีวิต สมบูรณ์ ( climax stage) เมื่อเกิดการรบกวนหรือการทำลายระบบนิเวศลงไป เช่น พายุ ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่า ฯลฯ ก็จะทำให้ระบบนิเวศเกิดการเสียหายหรือถูกทำลายแต่ธรรมชาติจะมีการทดแทนทางนิเวศ ( ecological succession) ของสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาแทนที่ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัย ที่เอื้อต่อ การดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ แสง ความชื้น อุณหภูมิ ฯลฯ เปลี่ยนไป การทดแทนสังคมที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่าการทดแทนลำดับสอง ( secondary succession)
ค) ความหลากหลายของภูมิประเทศ/ภูมิทัศน์ (Landscape diversity) พื้นผิวโลกจะประกอบด้วยภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน หากแบ่งตามลักษณะภูมิอากาศสามารถแบ่งได้เป็น 4 เขตใหญ่ๆคือ
1. เขตร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร หรือเขตร้อน (Tropical Zone) เป็นเขตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นป่าอะเมซอน ประเทศบราซิล เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์สูงมาก
2. เขตอบอุ่น ( Temperate Zone ) เป็นเขตที่พบความหลากหลายทางชีวภาพ รองลงมาจากเขตร้อน
3. เขตหนาวแบบทรุนดา (Tundra Zone) เป็นบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพน้อยมาก
4. เขตหนาวขั้วโลก (Pole) เป็นพื้นที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลยเพราะสภาพพื้นที่มีแต่ภูเขาน้ำแข็ง





ประโยชน์ของความหลากหลายทาง มนุษย์สามารถได้รับประโยชน์จากความหลากหลายทางธรรมชาติในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้


1.ประโยชน์ด้านการบริโภคใช้สอย หมายถึงประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นทรัพยากร ทางธรรมชาติอันเอื้อต่อปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์ เช่น ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น
ก. ด้านการผลิตอาหาร มนุษย์รับอาหารจากพืชและสัตว์ พืชไม่น้อยกว่า 5,000 ชนิดที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ และไม่น้อยกว่า 150 ชนิดที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่ใช้เป็นอาหารหลักของประชากรโลก คือ พวกแป้ง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง ความหลากหลายทางธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้เป็นแหล่งอาหารจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ถูก นำมาใช้ ในการปรับปรุงคัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น
ข. ด้านการแพทย์ มีการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ในทางการแพทย์มากมายประมาณร้อยละ 25 ของยารักษาโรคผลิตขึ้นมาจาก พืชดั้งเดิม เช่น การนำพืชพวก ชินโคนา (cinchona) ผลิตยาควินินที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย
2 . ประโยชน์ด้านการผลิต ด้านการอุตสาหกรรม ผลผลิตของป่าที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะโดยตรง เช่น การป่าไม้ ของป่า หรือโดยอ้อม เช่นการสกัดสารเคมีจากพืชในป่า
3. ประโยชน์อื่น ๆ อันได้แก่คุณค่าในการบำรุงรักษาระบบนิเวศให้สามารถดำรงอยู่ได้ และดูแลระบบนิเวศ ให้คงทน เช่น การรักษาหน้าดินการตรึงไนโตรเจนสู่ดิน การสังเคราะห์พลังงานของพืช การควบคุมความชื้น เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นประโยชน์ที่สำคัญ ตลอดทั้งในด้านนันทนาการและการท่องเที่ยวของมนุษย์


ความหลากหลายทางชีวภาพ


ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)


ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพ



ความหลากหลายทางชีวภาพ ( Biodiversity หรือ Biological Diversity) หมายความถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ มาจากคำ 2 คำ คือ Biological หมายถึง ชีวภาพ และ diversity หมายถึง ความหลากหลาย


ระดับของความหลากหลายทางชีวภาพ



การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น 3 ระดับคือ

1.ความหลากหลายทางพันธุกรรม ( Genetic diversity) หมายถึง ความหลากหลายทางพันธุกรรมที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิตได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่นพ่อแม่และส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปเช่น ลักษณะความหลากหลายของลวดลายและสีของหอยทาก
Cepaea nemoralls (อธิบายเพิ่มเติม ) ความหลากหลายของสีสันของ emerald tree boas Corallus canius (อธิบายเพิ่มเติม ) ลักษณะทางพันธุกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดนั้นผ่านทางยีนส์ (genes) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด ซึ่งส่งผลให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกันไปตาม gene ที่ได้รับการถ่ายทอดมา ตัวอย่างของความหลากหลายทางพันธุกรรมมีอยู่ทุกครอบครัวของสิ่งมีชีวิต พี่น้องอาจมีสีผม สีผิวและสีของนัยน์ตาที่แตกต่างกัน เป็นต้น



ความแตกต่างผันแปรทางพันธุกรรมในแต่ละหน่วยชีวิตนั้นมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลง พันธุกรรม( mutation) ซึ่งอาจเกิดขึ้นในระดับ gene หรือในระดับโครโมโซม ผสมผสานกับกลไกที่เรียกว่า Crossingover ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการแบ่งเซลล์สืบพันธุ์ สำหรับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เป็นผลทำให้ gene สลับที่รวมตัวกันใหม่ (Recombination) ซึ่งจะถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานต่อ ๆ ไปในประชากร
2.ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ (Species diversity) หมายถึงจำนวนชนิด และจำนวนหน่วยสิ่งมีชีวิตที่เป็นสมาชิก ของแต่ละชนิดที่มีอยู่ใน แหล่งที่อยู่อาศัยในประชากรนั้น ๆ หรือหมายถึงความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิต (species) ที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งนั่นเอง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่วิวัฒนาการอยู่บนโลกนี้ในปัจจุบันมีจำนวนชนิดอยู่ระหว่าง 2-30 ล้านชนิด โดยที่มีบันทึกอย่างเป็นทางการแล้วประมาณ 1.4 ล้านชนิด แบ่งออกเป็น 5 อาณาจักร



อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Mornera)
อาณาจักรโพรติสตา (Kingdom Protista)
อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae)
อาณาจักรเห็ดรา (Kingdom Fungi)
อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)

3.ความหลากหลายของระบบนิเวศหรือแหล่งที่อยู่อาศัย (Ecological system diversity หรือ Habitat diversity) คือความซับซ้อนของลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลก เมื่อประกอบกับสภาพภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศทำให้เกิดระบบนิเวศหรือถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน การที่สามารถพบสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ในแต่ละพื้นที่ได้โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติตามกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางนิเวศวิทยา ประกอบด้วยความหลากหลาย 3 ประเด็น คือ ก) ความหลากหลายของถิ่นตามธรรมชาติ ( habitat diversity) ในแต่ละบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกันไป บริเวณใดที่มีความหลากหลายของแหล่งที่อยู่อาศัย ที่นั่นจะมีชนิดของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายไปด้วยเช่นกัน

ข) ความหลากหลายของการทดแทน (Successional diversity) เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มพัฒนาขึ้นในพื้นที่ที่ไม่เคยมีสิ่งมีชีวิตขึ้นมาก่อนและพัฒนาขึ้นเป็นชุมชนสิ่งมีชีวิต สมบูรณ์ ( climax stage) เมื่อเกิดการรบกวนหรือการทำลายระบบนิเวศลงไป เช่น พายุ ไฟป่า การตัดไม้ทำลายป่า ฯลฯ ก็จะทำให้ระบบนิเวศเกิดการเสียหายหรือถูกทำลายแต่ธรรมชาติจะมีการทดแทนทางนิเวศ ( ecological succession) ของสิ่งมีชีวิตใหม่ขึ้นมาแทนที่ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัย ที่เอื้อต่อ การดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ แสง ความชื้น อุณหภูมิ ฯลฯ เปลี่ยนไป การทดแทนสังคมที่เกิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่าการทดแทนลำดับสอง ( secondary succession)

ค) ความหลากหลายของภูมิประเทศ/ภูมิทัศน์ (Landscape diversity) พื้นผิวโลกจะประกอบด้วยภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน หากแบ่งตามลักษณะภูมิอากาศสามารถแบ่งได้เป็น 4 เขตใหญ่ๆคือ

1. เขตร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร หรือเขตร้อน (Tropical Zone) เป็นเขตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ เช่นป่าอะเมซอน ประเทศบราซิล เป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์สูงมาก

2. เขตอบอุ่น ( Temperate Zone ) เป็นเขตที่พบความหลากหลายทางชีวภาพ รองลงมาจากเขตร้อน

3. เขตหนาวแบบทรุนดา (Tundra Zone) เป็นบริเวณที่มีความหลากหลายทางชีวภาพน้อยมาก

4. เขตหนาวขั้วโลก (Pole) เป็นพื้นที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลยเพราะสภาพพื้นที่มีแต่ภูเขาน้ำแข็ง


ประโยชน์ของความหลากหลาย


มนุษย์สามารถได้รับประโยชน์จากความหลากหลายทางธรรมชาติในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ 1.ประโยชน์ด้านการบริโภคใช้สอย หมายถึงประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็นทรัพยากร ทางธรรมชาติอันเอื้อต่อปัจจัยในการดำรงชีวิตให้แก่มนุษย์ เช่น ด้านอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น

ก. ด้านการผลิตอาหาร มนุษย์รับอาหารจากพืชและสัตว์ พืชไม่น้อยกว่า 5,000 ชนิดที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ และไม่น้อยกว่า 150 ชนิดที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ แต่มีเพียง 20 ชนิดเท่านั้นที่ใช้เป็นอาหารหลักของประชากรโลก คือ พวกแป้ง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี มันฝรั่ง ความหลากหลายทางธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้เป็นแหล่งอาหารจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ถูก นำมาใช้ ในการปรับปรุงคัดเลือกพันธุ์เพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น

ข. ด้านการแพทย์ มีการใช้ประโยชน์จากพืชและสัตว์ในทางการแพทย์มากมายประมาณร้อยละ 25 ของยารักษาโรคผลิตขึ้นมาจาก พืชดั้งเดิม เช่น การนำพืชพวก ชินโคนา (cinchona) ผลิตยาควินินที่ใช้รักษาโรคมาลาเรีย

2 . ประโยชน์ด้านการผลิต ด้านการอุตสาหกรรม ผลผลิตของป่าที่นำมาใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะโดยตรง เช่น การป่าไม้ ของป่า หรือโดยอ้อม เช่นการสกัดสารเคมีจากพืชในป่า

3. ประโยชน์อื่น ๆ อันได้แก่คุณค่าในการบำรุงรักษาระบบนิเวศให้สามารถดำรงอยู่ได้ และดูแลระบบนิเวศ ให้คงทน เช่น การรักษาหน้าดินการตรึงไนโตรเจนสู่ดิน การสังเคราะห์พลังงานของพืช การควบคุมความชื้น เป็นต้น ซึ่งจัดเป็นประโยชน์ที่สำคัญ ตลอดทั้งในด้านนันทนาการและการท่องเที่ยวของมนุษย์